วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีทําผ้าบาติก

                                      วิธีทําผ้าบาติก


ที่มา  http://www.phuketbatik.com

1. ออกแบบลวดลายบนกระดาษด้วยดินสอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงใช้ปากกาเมจิกสีดำลากเส้นตามรอยดินสอเพื่อให้ลวดลายชัดเจน

2. นำเทียนที่เขียนบาติกซึ่งหลอมละลายให้เหลวแล้วมาทาลงขอบเฟรม โดยใช้แปรงจุ่มเทียนแล้วนำมาทาลงบนขอบเฟรมให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน ระวังอย่าให้หนาเกินไปเพราะจะทำให้ผ้าหลุดรนได้ง่าย หลังจากนั้นจึงนำผ้าไปติดบนเฟรมโดยใช้วัสดุหรือของแข็งหน้าเรียบ เช่น ก้นขวด เหรียญ กุญแจ กดลงบนขอบเฟรมและถูเบา ๆ ทีละด้านทั้ง 4  ด้านของกรอบเฟรม

3. นำลายที่เตรียมไว้สอดไว้ใต้เฟรมผ้าที่ขึงตึงเพื่อทำการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอ 2 Bขึ้นไป

4. ใช้จันติ้งตักน้ำเทียนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะโดยตักน้ำเทียนเททิ้ง 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของจันติ้งแล้วจึงทดลองเขียนบนเศษผ้าดูก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเทียนได้ขนาดตามต้องการ ซึ่งเส้นเทียนไม่ควรใหญ่เกิน 2 – 3 ม.ม.แล้วจึงเริ่มเขียนจริงโดยเริ่มเขียนเป็นสี่เหลี่ยมขอบกรอบรอบนอกก่อนเพื่อกันสีลามไปที่กรอบไม้ ถึงจะเขียนตามลวดลายที่ลอกไว้ลากช้าๆ ระวังอย่าให้เส้นเทียนขาดตอนเพราะจะทำให้เวลาที่ลงสีสีจะรั่วเข้าหากัน สีจะเน่าไม่สวยและจำเป็นจะต้องใช้กระดาษทิชชูซับน้ำเทียนบริเวณรอบนอกตัวปากกาเขียนเทียนทุกครั้งเพื่อมิให้เทียนหยดลงบนชิ้นงาน

5. ลงสีที่ต้องการลงในลาย คล้ายเป็นการระบายสีลงในช่องว่างด้วยพู่กัน โดยให้น้ำหนักสีอ่อนแก่เพื่อเกิดเป็นระดับ ซึ่งวิธีระบายสีอ่อนก่อนแล้วใช้สีกลางและเน้นด้วยสีเข้มจะเกิดเป็นแสงเงาสวยงาม ถ้าต้องการให้มีความพลิ้วหวานก็ให้ใช้น้ำเปล่าระบายเฉพาะส่วนที่ต้องการให้สีอ่อนแล้วแต้มสีเข้มเกลี่ยสีเข้าหากันจนทำให้เกิดแสงเงามีน้ำหนักอ่อน - เข้ม และดูมีความชัดลึก  สวยงาม

6. นำผ้าที่ระบายสีและแห้งสนิทเคลือบโซเดียมซิลิเกตเพื่อเป็นการกันสีตกมี 2 วิธี คือ การเคลือบโดยการจุ่มลงไปในถังน้ำยา โดยกดจมให้น้ำยาเปียกทั่วทั้งผืน แล้วยกมาพาดขึ้นปากถังเพื่อให้น้ำยาหยดกลับลงไปในถังนำกลับไปใช้ได้อีก และอีกวิธี คือ ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งจุ่มน้ำยาแล้วนำมาทาลงบนผ้าที่ขึงอยู่บนเฟรมให้ทั่วทั้งผืน วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะกันสีตกได้ดีและชิ้นงานเสียหายน้อย หลังจากนั้นก็ทิ้งไว้ 6 – 8 ชั่วโมงเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีก่อนนําไปล้าง

7. นำผ้ามาล้างน้ำยาเคลือบเพื่อให้เมือกของโซเดียมซิลิเกตหลุดออกไปในภาชนะที่มีขนาดโตสามารถใส่น้ำได้ในปริมาณที่มากๆ เพราะจะมีสีส่วนเกินหลุดออกมาและจะต้องเปิดน้ำให้ไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา หรือเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จนกว่าน้ำที่ซักจะใสและหมดลื่นมือจึงหยุดขั้นตอนการซัก คลี่ออกผึ่งอย่าให้เป็นก้อน เพราะสีจะตกใส่กันซึ่งควรล้างทีละผืนจนสะอาดเพื่อให้สีที่หลุดออกไปติดกลับมาใหม่

8. นำผ้าไปต้มในน้ำเดือดที่ผสมผงซักฟอกหรือสบู่ซันไลต์ ในประมาณ ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลอกเอาเส้นเทียนออกจากตัวผ้า โดยใช้มือจับปลายผ้าแล้วจุ่มผ้าลงในน้ำเดือดให้ทั่วทั้งผืน แล้วค่อยๆยกขึ้นลงและผึ่งผ้าออกจนเทียนหลุดออก สลับอีกด้านจุ่มลงทำเหมือนเดิม สังเกตว่าเส้นเทียนหลุดออกหมดหรือยัง ห้ามต้มแช่ไว้นานเป็นอันขาดจะทำให้ผ้าเสียได้

9. นำผ้าใส่ลงในถังซักที่มีน้ำเต็มซักผ้าโดยการจับปลายจุ่มลงเหมือนการลอกเอาเทียนออกเพื่อล้างจนเศษเทียนหลุดจนหมดแล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นสีเข้มควรเช็คดูว่ามีสีตกอยู่หรือไม่ ถ้าตกให้เปลี่ยนน้ำในกะละมังใหม่จนมีส่วนเกินตกจนหมด

10. บิดน้ำออกพอหมาดๆด้วยมือ หรือใช้เครื่องซักผ้าปั่นแล้วนำไปตาก โดยผึ่งออกทั้งผืน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งวางซ้อนกันและใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้ ส่วนการตากควรตากไว้ในที่ร่มหรือผึ่งแดด เมื่อแห้งแล้วให้รีบเก็บอย่างปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้สีซีดได้ และนำไปรีด ตัดเย็บตามต้องการ


ที่มา   http://www.phuketbatik.com


วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

รูปภาพผ้าบาติกสวยๆ

              ภาพบาติก







ขั้นตอนการทําผ้าบาติก


 1.การขึงเทีย ก่อนการขึง นำกรอบไม้ที่ได้ขนาดที่เตรียมไว้ มาทาเทียนลงตามขอบเฟรมด้านที่ติดกับผ้า การทาเทียนโดยใช้แปรงขนสัตว์จุ่มในน้ำเทียนแล้วทาลงบนเฟรม การทาควรทาไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ควรทาซ้ำ ถ้ามีความจำเป็นต้องทาซ้ำ ต้องรอให้เทียนแห้งเสียก่อนถึงจะทาซ้ำได้ เมื่อเทียนเย็นให้นำผ้ามาติดลงบนเฟรม แล้วใช้ขวดกดให้เส้นใยผ้าฝังเข้าไปในเนื้อเทียนที่อยู่บนเฟรม

2.การร่างเเบบ ควรร่างแบบลงบนแผ่นกระดาษก่อนแล้วเอาผ้าที่จะเขียนทาบลงบนลดลายที่เขียนเสร็จแล้ว โดยใช้ดินสอ 6B ยี่ห้อมิตซูมิชิ ในการลอกลาย เพราะสามารถซักออกได้ง่าย
 3.การต้มเทียน  เตาต้มเทียน ถ้าใช้เตาไฟฟ้าขนาด 1500 W ควรเร่งความร้อนไม่ให้เกินระดับ 2 เพราะถ้าอุณหภูมิเกิน 2 ความร้อนจะสูงเกินไป ทำให้เทียนมีแก๊สสูง อาจลุกเป็นไฟได้ ควรเร่งอุณหภูมิจากต่ำไปก่อน และไม่ควรต้มเทียนทิ้งไว้ในขณะที่ไม่มีคนเฝ้าดู เพราะแก๊สที่ระเหยออกมาจากน้ำเทียน จะลุกเป็นไฟได้ 
        ถ้ามีไฟลุกอยู่ในหม้อเทียน อย่าใช้น้ำดับไฟเป็นอันขาด เพราะอาจจะระเบิดขึ้นได้ ควรใช้กะละมังมาครอบให้สนิทไฟก็จะดับไปเอง 
        อุณหภูมิในการเขียนเทียน สังเกตดูอย่าให้มีแก๊สระเหยออกมาจากน้ำเทียน เพราะถ้ามีแก๊สระเหยออกมา เวลาเขียนภาพเส้นเทียนที่ร้อนและบางมาก ไม่สามารถกันสีให้อยู่ในช่องเส้นเทียนได้ ควรปรับให้อยู่ในระดับ 1-1.5 ทุกครั้ง ขณะเขียนอาจปรับไปที่ 2 ก็ได้ แต่ต้องใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที โดยสังเกตแก๊สที่ระเหย ออกมาจากหม้อต้มเทียน ถ้าอุณหภูมิเริ่มสูงมากให้ลดไปที่ระดับต่ำ คือ 1
 4.นํ้าเทียน  ข้อสำคัญที่สุด น้ำเทียนต้องอยู่ในระดับเต็มตลอด เพราะถ้าระดับน้ำเทียนต่ำ เศษฝุ่น ขยะหรือตะกอนที่อยู่ก้นหม้อจะหมุนแล้วกลับเข้าไปในปากกาเขียนเทียน ทำให้ท่อปากกาอุดตันได้ง่าย และเส้นเทียนจะขาดตอน 
        ปากกาเขียนเทียน ต้องแต่งโดยใช้กระดาษทรายขัด การขัดมี 2 วิธีคือ 
            1. ขัดเพื่อให้เกิดความลื่น การขัดให้เกิดความลื่นควรขัดเฉพาะมุมให้ดูรูปประกอบรูป (2) การขัดเฉพาะมุมจะทำให้เวลาเขียนเส้นเทียนจะลื่นลากเส้นไม่สะดุด เพราะความหนาของท่อทองแดง จะไม่เกี่ยวกับเส้นใยของผ้า 
            2. ขัดเพื่อให้เกิดเส้นเล็ก การขัดเพื่อให้เกิดเส้นเล็ก ควรขัดแต่งให้มีลักษณะปากเป็นกรวย แต่ไม่ควรบางเกินไป เพราะเวลาเขียนอาจเกี่ยวกับเส้นด้าย ทำให้เส้นไม่สม่ำเสมอ ขณะเขียนอย่ากดมาก เพราะจะทำให้เส้นใหญ่เกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขนาดของเส้นต้องขึ้นอยู่กับขนาดของท่อปากกาเขียนเทียนด้วย
 5.การเขียนเทียน ขั้นตอนแรก ควรเช็ดท่อปากกาเขียนเทียนก่อน โดยใช้ลวดเส้นเล็กใส่เข้าไปให้ทะลุ หลังจากนั้นตักเทียนในหม้อที่ต้มที่เตรียมไว้ การตักเทียนควรตักเท หลาย ๆ ครั้ง เพราะถ้ามีขยะอยู่ในท่อ รูด้านบนของปากกาเขียนเทียนใหญ่กว่าตัวท่อ น้ำเทียนจะดูดขยะออกมาด้วย การตักเทียนแล้วเทหลาย ๆ ครั้ง จะเป็นการเช็คความร้อนน้ำเทียนไปด้วย คือ ถ้าปากกาเขียนเทียนจุ่มเทียนหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นควรเช็คเวลาตักเทียนด้วยว่ากี่ครั้งเส้นเทียนจึงจะออกมาพอดี ไม่ร้อนจนเกินไป (สังเกตดูรูตรงกลางของเส้นจะมีฟองอากาศสีขาว ๆ ) 
        การเริ่มเขียน 
ควรทดลองเขียนก่อน อาจเป็นริมผ้าหรือบนผ้าเช็ดมือ แล้วนำไปลากลงบนเส้นดินสอที่ร่างแบบไว้ ถ้าเทียนร้อนหรือออกเร็ว ควรขีดเส้นที่เป็นขอบ หรือเส้นที่มีช่องยาว ๆ ก่อน หรืออาจจะถือรอก่อนแล้วค่อยเขียน ในกรณีที่เทียนออกเร็วเกินไป ควรสังเกตให้เส้นเทียนเท่ากัน ถ้าเริ่มเล็กลงต้องรีบตักเปลี่ยนน้ำเทียนใหม่ ข้อสำคัญต้องขยันเปลี่ยนน้ำเทียนบ่อย ๆ

 6.การระบายสี ก่อนการระบายสีต้องใช้น้ำระบายรองพื้นในส่วนของพื้นที่ต้องการเฉพาะสีอ่อน เพราะจะทำให้สีสด ไม่จางเมื่อระบายสีเสร็จ การระบายสี ควรเริ่มต้นจากปลายของพู่กัน โดยให้ปลายที่ระบายส่วนแรกที่ระบายสีเข้มแล้วค่อย ๆ จางลงตามลำดับ ควรแยกพู่กันในการระบายสีในแต่ละสี หรือล้างพู่กันให้สะอาดก่อนนำไปใช้ระบายสีอื่น และใช้พู่กันจุ่มสีเพียงส่วนปลายพู่กันเท่านั้น เพราะถ้าจุ่มสีมากจนเกินไปจะทำให้สีกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของภาพได้ง่าย

7. การเคลือบผ้า สิ่งสำคัญที่สุดก่อนนำมาเคลือบต้องให้สีแห้งสนิท อย่าให้มีความชื้นในผ้า น้ำยาเคลือบถ้ากรณีผสมน้ำ ให้คนเข้ากันให้นานที่สุด เพราะถ้าน้ำกับน้ำยาเคลือบ ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เวลานำลงไปหมักหรือทาน้ำยาจะทำให้สีตกได้ และสีที่ไม่แห้งสนิท ก็จะละลายออกมาอีก ก่อนจะนำผ้าไปเคลือบในน้ำยาสิ่งที่สำคัญที่สุดคือสีเสื้อต้องแห้งสนิท ความเข้มข้นของน้ำยาขนาดพอดีไม่ข้นจนเกินไป 
        ขั้นตอนการเคลือบมี 2 วิธี 
             1. การจุ่มลงในน้ำยา นำผ้ามาจุ่มในน้ำยาให้ทั่วทั้งผืน แล้วนำมาบิดให้น้ำยาออกจากผ้าให้มากที่สุด ต่อจากนั้นก็คลี่ผ้าออกวางทิ้งไว้ประมาณ 6-24 ชั่วโมง 
             2. การทาน้ำยาบนผ้า วิธีนี้จะเหมาะกับงานเล็ก ๆ ที่ปราณีต เพราะโอกาสที่สีจะตกมีน้อย แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 6- 24 ชั่วโมง หรือเอาออกจากเฟรมนำมาหมักในถังก็ได้ (ความเข้มข้นน้ำยาจะมีลักษณะคล้ายน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว)
  8.การซักล้าง สิ่งสำคัญในการล้างผ้า ควรเตรียมน้ำไว้ให้เพียงพอ เพราะการล้างเป้นการล้างเอาน้ำยาเคลือบออก และกากส่วนที่ไม่ติดผ้าออก ต้องใช้น้ำมากควรมีน้ำประมาณ 3 กะละมัง โดยล้างน้ำกะละมังที่ 1,2,3 ตามลำดับ จนกว่าน้ำจะใส ไม่ควรล้างแล้วตั้งหมักไว้ ควรแช่ให้จมน้ำอยู่ตลอดเวลา การล้างออกต้องล้างทีละผืน และล้างยกขึ้นลงให้เร็ว เพื่อสีที่ล้างออกแล้วไม่กลับเข้ามาติดอีก
 9.การต้มผ้า  หลังจากที่หมักน้ำยาทิ้งไว้ 6-24 ชั่วโมงแล้ว นำมาล้างจนน้ำใส นำผ้าใส่ลงในน้ำที่ต้มไว้ ควรใส่ผงซักฟอก หรือสบู่ลงไปด้วยเพื่อจะได้ขจัดคราบเทียน และสีออกได้เร็วยิ่งขึ้น คอยสังเกตเส้นเทียน ถ้ามาจากผ้าขาวก็ให้ดูให้เส้นเทียนขาวก่อนแล้วค่อยยกขึ้น ข้อควรระวังเวลายกขึ้นจากน้ำเดือด ควรกางให้กว้าง เพื่อที่เทียนจะไม่เกาะผิวผ้าอีก เพราะถ้าไม่กางผ้าออกเทียนจะติดผ้าอยู่ด้านในไม่สามารถไหลออกมากับน้ำได้         หลังจากต้มเสร็จแล้ว ควรนำมาซักด้วยผงซักฟอก หรือสบู่อีกครั้งหนึ่ง แล้วนำมาล้างน้ำเปล่าจนน้ำใส จึงนำไปตากให้แห้งถ้าเป็นพวกผ้ายืด ควรแช่ไว้ในน้ำใสประมาณ ครึ่งชั่วโมง เพื่อให้คราบสีที่ไม่ติดผ้าออก ก่อนนำไปตากให้แห้ง


                                                                                                         ที่มา www.tungsong.com









เรามารู้จักผ้าบาติกกันเถอะ

                                              ผ้าบาติก




           ผ้าบาติก หมายถึง ผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ ด่าง ๆ ซึ่งบางพื้นที่จะเรียกผ้าบาติกสำหรับนำมานุ่งว่า "ผ้าปาเต๊ะ" ลักษณะพิเศษของผ้าบาติกคือความไม่เหมือนใคร ไม่ซ้ำกัน และเป็นหนึ่งเดียว เพราะผ้าที่ทำเขียนเทียนเหมือนกัน ใช้สีเดียวกัน ระบายสีเหมือนกัน ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ผ้าบาติกเหล่านั้นจะไม่เหมือนกัน ในเรื่องน้ำหนักของสีที่ระบายจะไม่เท่ากัน


                      ประวัติความเป็นมาของผ้าบาติก


          ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ         
        คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติกจึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ  

          วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน { wax- writing} ดัง นั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติด สี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก     

           แหล่ง กำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาว ดัตช์ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย

          ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเฉพา ะ ในเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็ก เท่านั้น ต่อมาได้ใชเป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี 3 ชนิด คือ

        1. โสร่ง (Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่ง โดยทั่วไปนิยมผ้า หน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่งถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษ ส่วนที่เรียกว่า “ ปาเต๊ะ ” หมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกัน

        2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ ผ้าทับ ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย ผ้าสลินดัง มีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำเอาผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
        3. อุเด็ง (udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพ - บุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า “ ซุรบาน ” สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศรีษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า “ คิมเบ็น ” (kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมไม่ปิดบ่าและไหล่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนัก เพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวกสำ หรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นนั้น โดยใช้ผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆได้ การใช้ผ้าบาติกได้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ แม้กระทั่งเครื่องแบบนักเรียน นับเป็นความ พยายามของคนรุ่นต่อมา ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจชาวต่างชาติ ได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก
 ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู๋ประเทศอื่น
         
        ปัจจุบัน อินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิมซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า “ จันติ้ง ” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะ ทองแดง (Cap , Print , Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า “ ศูนย์พัฒนาบา - ติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา ( Balai Pene ltian Batik Kerajian –Yogyakarta)
       
         การ พัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้า แบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silk screen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมชาว อินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical- batik) แต่ก็มีราคาแพงกว่าบาติกที่ใช้ระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบันศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทำผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรม (painting) และแพร่หลายไปยังศิลปินชาวยุโรปเเละอเมริกา
                           
                            ประเภทของผ้าบาติก

 การแบ่งประเภทของการทำผ้าบาติก โดยแบ่งตามเทคนิคในการผลิต มี 3 วิธีด้วยกัน คือ
     1. 
บาติกลายเขียน (Mem Batik Tolis) เป็นบาติกที่จัดเป็นผ้าบาติกชั้นสูง 
เป็นที่นิยมกันในหมู่คนที่มีฐานะทางสังคม และฐานะทางการ 
     2.บาติกลายพิมพ์ (Mem Batik Cap) บาติกลายพิมพ์หรือบาติกที่พิมพ์ลวดลายโดยใช้แม่พิมพ์อาจทำได้จากไม้ หรือทำจากทองแดง หรือโลหะชนิดอื่นเงินดี   
     3.  ผ้าบาติกพิมพ์สี (Batik screen) เป็นผ้าบาติกที่ได้รับความนิยมกันมากอีกแบบหนึ่ง เป็นผ้าที่ทำเลียนแบบผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือหรือบาติกลายเส้น

               

           นอกจากแบ่งประเภทของผ้าบาติกตามลักษณะของเทคนิคที่ใช้แล้ว ยังสามารถ
แบ่งเป็นชนิดของรูปแบบของผ้า ซึ่งแบ่งย่อยจากเทคนิคดังที่กล่าวมาแล้ว โดยแบ่งตามชนิดของผ้าบาติกได้ดังน

     1. บาติกธรรมดา (Batik Biasa) 
เป็นบาติกลายพิมพ์ที่ผ่านการต้มเพียงครั้งเดียว

     2. บาติกลาซิม (Batik Lasem) 
เป็นบาติกที่ผ่านกระบวนการต้ม 2 ครั้ง และผ่านการย้อมสี 2 ชั้น จะได้สีที่หลากหลายกว่าผ้าบาติกธรรมดา

     3. บาติกเขียนสี (Batik Coteng warna) 
บาติกชนิดนี้จะไม่ผ่านกระบวนการย้อมสีทั้ง 2 ครั้ง (ยกเว้นถ้าต้องการให้สีของผ้าดิบ พื้นผิวผ้าเป็นสีต่าง ๆ ทั้งนี้จะทำหลังจากที่แต้มหรือเขียนลวดลายเสร็จแล้ว) โดยใช้พู่กันแต้มสีลงบนลายดอกที่มีเทียนเป็นแม่พิมพ์อยู่ จะใช้สีแดงสำหรับลาย ส่วนที่เป็นดอกและส่วนที่เป็นใบก็จะใช้สีเทียน

     4. บาติกโซโล (Batik Solo) 
บาติกโซโลมักจะถูกจำกัดด้วยความกว้างของผ้า เพราะเป็นลักษณะบาติกยาวหรือบาติกพัน ซึ่งมี 3 สี คือ ดำ เหลือง น้ำเงิน

     5. บาติกชั้นเดียว (Batik Selapis) บาติกชนิดนี้จะมีลวดลายอิสระ ส่วนหัวของผ้าจะเป็นลายของพืช (ดอกไม้หรือต้นไม้) แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ จะมีสีขาวเป็นสีหลัก ซึ่งไม่รวมกับสีเดิมของเนื้อผ้า







อุปกรณ์การทําผ้าบาติก

                                                        อุปกรณ์การทําผ้าบาติ



        อุปกรณ์ที่ใช้ 

1.ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย
2.กรอบไม้บาติก
3.เทียนขี้ผึ้งผสมพาราฟินสำเร็จ
4.ปากกาเดินเทียน (จันติ้ง) เลือกเบอร์๐ หรือ เบอร์ 2
5.ลายผ้าบาติก ดินสอ 6 B
6.โซเดียมซิลิเกท ( เคลือบสี )
7.สีบาติก
8.แปรงทาสีขนาด 1 นิ้ว
9.เตาไฟฟ้า
10.หม้อเคลือบทนความร้อนสูง
11.หม้อต้มน้ำ
12.ไม้สำหรับคนผ้า
13.พู่กัน เบอร์ 4,6,12

        วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นมีดังต่อไปนี้


1.ผ้า ผ้าที่ใช้ทำผ้าบาติกควรเป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติและมีเนื้อบาง 
ในปัจจุบันนิยมใช้ทั้งผ้าชนิดเนื้อบางจนถึงเนื้อหนาขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทำ
ได้แก่ ผ้าซันฟอร์ไรด์ ผ้าลินิน ผ้าไหม ผ้าแพรเยื่อไม้ เป็นต้น


2.สี สีที่ใช้ในงานบาติกมีหลายชนิด ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นสีย้อมผ้าประเภทย้อมเย็น
ละลายน้ำได้และมองเห็นสีโดยตรง โดยมากมักจะอยู่ในกลุ่มสีรีแอคทีฟเนื่องจากใช้สะดวก
และมีกระบวนการไม่ยุ่งยาก



3. เทียน เทียนที่ใช้เขียนผ้าประกอบด้วยขี้ผึ้งมากเทียนจะเหนียว ถ้าผสมพาราฟีนมากเทียนจะเปราะ
หรืออาจใช้เทียนผสมสำเร็จที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปก็ได้


 4.ปากาเขียนเทียน(JANTING) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้เขียนลวดลายเทียนลงบนผ้า มีขนาดแตกต่างกันทั้งเส้นเล็ก
เส้นกลาง และเส้นใหญ่หรืออาจใช้แปรงทาเล็กเกอร์แบ่งเป็นซีกๆ จุ่มเทียนเขียนลายบนผ้าก็ได้ แต่วิธีนี้ใช้จะได้เส้นใหญ่ไม่สามารถเขียนลายที่ละเอียดได้ ที่นิมใช้คือเบอร์2-3


5.กรอบไม้  เป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยมมีหลายลักษณะ ใช้สำหรับขึงผ้าในเวลาเขียนผ้าในเวลาเขียนเทียน

6.พู่กัน  พู่กันสำหรับระบายสีใช้ได้ทั้งชนิดกลมและชนิดแบนควรเตรียมไว้หลายขนาด


7.ภาชนะผสมสี อาจใช้ถ้วยพลาสติก ถ้วยแก้ว ถ้วยสแตนเลส แล้วแต่ต้องการและควรให้มีปริมาณเพียงพอที่จะใช้



8.โซเดียมซิลิเกรต ใช้สำหรับทาบนผ้า เพื่อให้สีติดทนนาน ซึ่งควรผสมกับน้ำเพื่อให้ไม่หนืดเกินไปเวลาทา