1.การขึงเทียน ก่อนการขึง นำกรอบไม้ที่ได้ขนาดที่เตรียมไว้ มาทาเทียนลงตามขอบเฟรมด้านที่ติดกับผ้า การทาเทียนโดยใช้แปรงขนสัตว์จุ่มในน้ำเทียนแล้วทาลงบนเฟรม การทาควรทาไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ควรทาซ้ำ ถ้ามีความจำเป็นต้องทาซ้ำ ต้องรอให้เทียนแห้งเสียก่อนถึงจะทาซ้ำได้ เมื่อเทียนเย็นให้นำผ้ามาติดลงบนเฟรม แล้วใช้ขวดกดให้เส้นใยผ้าฝังเข้าไปในเนื้อเทียนที่อยู่บนเฟรม
2.การร่างเเบบ ควรร่างแบบลงบนแผ่นกระดาษก่อนแล้วเอาผ้าที่จะเขียนทาบลงบนลดลายที่เขียนเสร็จแล้ว โดยใช้ดินสอ 6B ยี่ห้อมิตซูมิชิ ในการลอกลาย เพราะสามารถซักออกได้ง่าย |
3.การต้มเทียน เตาต้มเทียน ถ้าใช้เตาไฟฟ้าขนาด 1500 W ควรเร่งความร้อนไม่ให้เกินระดับ 2 เพราะถ้าอุณหภูมิเกิน 2 ความร้อนจะสูงเกินไป ทำให้เทียนมีแก๊สสูง อาจลุกเป็นไฟได้ ควรเร่งอุณหภูมิจากต่ำไปก่อน และไม่ควรต้มเทียนทิ้งไว้ในขณะที่ไม่มีคนเฝ้าดู เพราะแก๊สที่ระเหยออกมาจากน้ำเทียน จะลุกเป็นไฟได้ ถ้ามีไฟลุกอยู่ในหม้อเทียน อย่าใช้น้ำดับไฟเป็นอันขาด เพราะอาจจะระเบิดขึ้นได้ ควรใช้กะละมังมาครอบให้สนิทไฟก็จะดับไปเอง อุณหภูมิในการเขียนเทียน สังเกตดูอย่าให้มีแก๊สระเหยออกมาจากน้ำเทียน เพราะถ้ามีแก๊สระเหยออกมา เวลาเขียนภาพเส้นเทียนที่ร้อนและบางมาก ไม่สามารถกันสีให้อยู่ในช่องเส้นเทียนได้ ควรปรับให้อยู่ในระดับ 1-1.5 ทุกครั้ง ขณะเขียนอาจปรับไปที่ 2 ก็ได้ แต่ต้องใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที โดยสังเกตแก๊สที่ระเหย ออกมาจากหม้อต้มเทียน ถ้าอุณหภูมิเริ่มสูงมากให้ลดไปที่ระดับต่ำ คือ 1 |
4.นํ้าเทียน ข้อสำคัญที่สุด น้ำเทียนต้องอยู่ในระดับเต็มตลอด เพราะถ้าระดับน้ำเทียนต่ำ เศษฝุ่น ขยะหรือตะกอนที่อยู่ก้นหม้อจะหมุนแล้วกลับเข้าไปในปากกาเขียนเทียน ทำให้ท่อปากกาอุดตันได้ง่าย และเส้นเทียนจะขาดตอน ปากกาเขียนเทียน ต้องแต่งโดยใช้กระดาษทรายขัด การขัดมี 2 วิธีคือ 1. ขัดเพื่อให้เกิดความลื่น การขัดให้เกิดความลื่นควรขัดเฉพาะมุมให้ดูรูปประกอบรูป (2) การขัดเฉพาะมุมจะทำให้เวลาเขียนเส้นเทียนจะลื่นลากเส้นไม่สะดุด เพราะความหนาของท่อทองแดง จะไม่เกี่ยวกับเส้นใยของผ้า 2. ขัดเพื่อให้เกิดเส้นเล็ก การขัดเพื่อให้เกิดเส้นเล็ก ควรขัดแต่งให้มีลักษณะปากเป็นกรวย แต่ไม่ควรบางเกินไป เพราะเวลาเขียนอาจเกี่ยวกับเส้นด้าย ทำให้เส้นไม่สม่ำเสมอ ขณะเขียนอย่ากดมาก เพราะจะทำให้เส้นใหญ่เกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขนาดของเส้นต้องขึ้นอยู่กับขนาดของท่อปากกาเขียนเทียนด้วย |
การเริ่มเขียน ควรทดลองเขียนก่อน อาจเป็นริมผ้าหรือบนผ้าเช็ดมือ แล้วนำไปลากลงบนเส้นดินสอที่ร่างแบบไว้ ถ้าเทียนร้อนหรือออกเร็ว ควรขีดเส้นที่เป็นขอบ หรือเส้นที่มีช่องยาว ๆ ก่อน หรืออาจจะถือรอก่อนแล้วค่อยเขียน ในกรณีที่เทียนออกเร็วเกินไป ควรสังเกตให้เส้นเทียนเท่ากัน ถ้าเริ่มเล็กลงต้องรีบตักเปลี่ยนน้ำเทียนใหม่ ข้อสำคัญต้องขยันเปลี่ยนน้ำเทียนบ่อย ๆ
6.การระบายสี ก่อนการระบายสีต้องใช้น้ำระบายรองพื้นในส่วนของพื้นที่ต้องการเฉพาะสีอ่อน เพราะจะทำให้สีสด ไม่จางเมื่อระบายสีเสร็จ การระบายสี ควรเริ่มต้นจากปลายของพู่กัน โดยให้ปลายที่ระบายส่วนแรกที่ระบายสีเข้มแล้วค่อย ๆ จางลงตามลำดับ ควรแยกพู่กันในการระบายสีในแต่ละสี หรือล้างพู่กันให้สะอาดก่อนนำไปใช้ระบายสีอื่น และใช้พู่กันจุ่มสีเพียงส่วนปลายพู่กันเท่านั้น เพราะถ้าจุ่มสีมากจนเกินไปจะทำให้สีกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของภาพได้ง่าย
7. การเคลือบผ้า สิ่งสำคัญที่สุดก่อนนำมาเคลือบต้องให้สีแห้งสนิท อย่าให้มีความชื้นในผ้า น้ำยาเคลือบถ้ากรณีผสมน้ำ ให้คนเข้ากันให้นานที่สุด เพราะถ้าน้ำกับน้ำยาเคลือบ ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เวลานำลงไปหมักหรือทาน้ำยาจะทำให้สีตกได้ และสีที่ไม่แห้งสนิท ก็จะละลายออกมาอีก ก่อนจะนำผ้าไปเคลือบในน้ำยาสิ่งที่สำคัญที่สุดคือสีเสื้อต้องแห้งสนิท ความเข้มข้นของน้ำยาขนาดพอดีไม่ข้นจนเกินไป ขั้นตอนการเคลือบมี 2 วิธี 1. การจุ่มลงในน้ำยา นำผ้ามาจุ่มในน้ำยาให้ทั่วทั้งผืน แล้วนำมาบิดให้น้ำยาออกจากผ้าให้มากที่สุด ต่อจากนั้นก็คลี่ผ้าออกวางทิ้งไว้ประมาณ 6-24 ชั่วโมง 2. การทาน้ำยาบนผ้า วิธีนี้จะเหมาะกับงานเล็ก ๆ ที่ปราณีต เพราะโอกาสที่สีจะตกมีน้อย แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 6- 24 ชั่วโมง หรือเอาออกจากเฟรมนำมาหมักในถังก็ได้ (ความเข้มข้นน้ำยาจะมีลักษณะคล้ายน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว) |
8.การซักล้าง สิ่งสำคัญในการล้างผ้า ควรเตรียมน้ำไว้ให้เพียงพอ เพราะการล้างเป้นการล้างเอาน้ำยาเคลือบออก และกากส่วนที่ไม่ติดผ้าออก ต้องใช้น้ำมากควรมีน้ำประมาณ 3 กะละมัง โดยล้างน้ำกะละมังที่ 1,2,3 ตามลำดับ จนกว่าน้ำจะใส ไม่ควรล้างแล้วตั้งหมักไว้ ควรแช่ให้จมน้ำอยู่ตลอดเวลา การล้างออกต้องล้างทีละผืน และล้างยกขึ้นลงให้เร็ว เพื่อสีที่ล้างออกแล้วไม่กลับเข้ามาติดอีก |
ที่มา www.tungsong.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น